วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สาระสำคัญ
วัสดุสาระนิเทศในห้องสมุดมีหลายประเภท และมีการจัดหมู่หลายระบบไม่ว่าระบบใดก็ตามต่างก็มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาได้สะดวกรวดเร็ว

การจัดหมู่หนังสือ
หมายถึง การแยกหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา และเป็นระเบียบในการจัดเก็บ
การจัดแยกหนังสือมีหลายวิธี เช่นแบ่งตามเนื้อหา หรือเนื้อเรื่อง แบ่งตามลักษณะและสีของปก แบ่งตามอักษรชื่อผู้แต่ง แบ่งตามขนาดรูปเล่ม แต่วิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และถือว่าเป็นการจัดระบบหมู่ที่ดี คือ การจัดแยกตามเนื้อหา หรือเนื้อเรื่อง ซึ่งจะทำให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่รวมกัน และเนื้อหาสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน และใช้สัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ

ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องมีการจัดหมู่หนังสือ
1. เพื่อให้หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเหมือนกันอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
2. เพื่อให้หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาใกล้เคียงกัน หรือสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน สะดวกในการค้นหาเรื่องราวที่สัมพันธ์กัน
3. เพื่อให้ผุ้ใช้ห้องสมุดค้นหาหนังสือได้สะดวกรวดเร็ว
4. เพื่อให้ทราบจำนวนหนังสือแต่ละหมวดว่ามีมากน้อยเพียงใด
5. ทำให้สามารถจัดเก็บหนังสือเข้าที่ ถูกต้องตามหมวดหมู่หนังสือแต่ละเล่ม

ระบบการจัดหมู่หนังสือ
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่นิยมแพร่หลายมี 2 ระบบ
1. ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เป็นระบบที่ใช้ตัวเลขเป็นลักษณะแทนเนื้อหาของหนังสือ นิยมใช้ในห้องสมุดขนาดเล็ก มีหนังสือไม่มาก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน
2 . ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) หรือเรียกย่อว่า ระบบ L.C เป็นระบบที่ใช้ตัวอักษรผสมตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ นิยมใช้กับห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหนังสือจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ
1. ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
ระบบดิวอี้ เรียกย่อๆว่า ระบบ D.D.C หรือ D.C ระบบนี้ Mel Dewey ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดขึ้นในปี 1876 ขณะทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์วิทยาลัย Amherst
ระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้แบ่งหนังสือออกเป็น 10 หมวดใหญ่ ตั้งแต่ 000-900 โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลขและทศนิยมแทนประเภทของหนังสือดังนี้
000-เบ็ดเตล็ด
100- ปรัชญา จิตวิทยา
200-ศาสนา
300-สังคมศาสตร์ การศึกษา การเมือง
400-ภาษาศาสตร์
500-วิทยาศาสตร์
600-วิทยาศาสตร์ประยุกต์
700-ศิลปะ การบันเทิง และนันทนาการ
800-วรรณคดี
900-ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ
แต่ละหมวดใหญ่ยังแบ่งเป็น 10 หมวดย่อย หรือ 10 หมู่เช่น
700-ศิลปะ การบันเทิง และนันทนาการ
710-ภูมิสถาปัตย์ ศิลปะการออกแบบบริเวณพื้นที่
720-สถาปัตยกรรม
730- ปติมากรรม
740-การวาดเขียน ศิลปะตกแต่ง
750- จิตรกรรม
760-ศิลปะกราฟิก การพิมพ์
770-การถ่ายภาพ
780-ดนตรี
790-นันทนาการ
แต่ละหมู่ยังแบ่งเป็น 10 หมู่ย่อย เช่น
790-นันทนาการ
791-การแสดงสาธารชน นอกจากดนตรี กีฬา เกม
792-การแสดงบนเวที
793-กีฬาในร่ม
794-เกมในร่มที่ต้องใช้ทักษะ
795-เกมที่ใช้การเสียง
796-กีฬากลางแจ้ง
797-กีฬาทางน้ำ ทางอากาศ
798-การแข่งม้า แข่งสัตว์อื่นๆ
799- การตกปลา ล่าสัตว์ ยิงปืน
จาก 10 หมู่ย่อย ยังแบ่งเป็นทศนิยมได้อีก เช่น
796- กีฬากลางแจ้ง
796.3-เกมที่ใช้ลูกบอล
796.312-แฮนด์บอล
796.315-โบล์ลิ่ง
796.323-บาสเกตบอล
796.324-เนตบอล
796.325-วอลเล่ย์บอล

2.ระบบการจัดหมู่ระบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
ระบบนี้เรียกย่อๆว่า ระบบ L.C. นิยมใช้ในห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ มีหนังสือจำนวนมาก ใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรโรมัน ตั้งแต่ A-Z ยกเว้น IOWXY ผสมตัวเลขอาราบิคแทนเนื้อหาของหนังสือนั้น ๆ ดังนี้
A ความรู้ทั่วไป
B ปรัชญา และศาสนา
BJ จิตวิทยา
BL-BX ศาสนา
C ประวัติอารยธรรม โบราณคดี
D ประวัติศาสตร์ทั่วไป
E-F ประวัติศาสตร์อเมริกา
ส่วนหนังสือประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น ทางห้องสมุดไม่นิยมให้เลขหมู่ แต่มักใช้อักษรย่อดังนี้
นวนิยายที่พิมพ์เป็นภาษาไทยใช้ “น” หรือ “นว” แทนเลขหมู่
นวนิยายที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษใช้ “Fic”(Fiction)
เรื่องสั้น ภาษาไทยใช้ “รส.” ภาษาอังกฤษใช้ S.C. (Short Stories Collection)
เลขเรียกหนังสือ (Call Number) ประกอบด้วย
- เลขหมู่หนังสือ (Classification Number)
- อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย หรืออักษรตัวแรกของชื่อสกุลผู้แต่งที่เป็นคนต่างประเทศ
- เลขประจำตัวผู้แต่ง
- อักษรตัวแรกของชื่อหนังสือ
เช่น หนังสือ พื้นฐานการสื่อสาร เขียนโดย วิวัฒน์ กิรานนท์ มีเลขเรียกหนังสือดังนี้



การจัดเรียงหนังสือบนชั้น
1.การเรียงหนังสือบนชั้น จะเรียงตามเลขเรียกหนังสือ (Call Number) และเรียงจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง และจากเลขหมู่น้อย ไปหาเลขหมู่มาก หมวด 000-900




2. หนังสือหลายเล่มที่มีเลขหมู่เดียวกัน จะเรียงตามดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย หรือ อักษรตัวแรกของชื่อสกุลผู้แต่งที่เป็นคนต่างประเทศ




3. ถ้าเลขหมู่หนังสือ และอักษรย่อของผู้แต่งเหมือนกัน จะเรียงตามเลขประจำตัวผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งหนังสือ ตามลำดับ



4. หนังสือที่มีเลขหมู่เดียวกัน แต่พิมพ์คนละปี หรือคนละครั้งจะเรียกตามปีพิมพ์ก่อนหลังตามลำดับ



5. หนังสือนวนิยาย หรือ เรื่องสั้น จะเรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง และอักษรย่อชื่อหนังสือ



การจัดเก็บวารสาร
การจัดเก็บวารสารสำหรับห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ มีวารสารจำนวนมาก มักจัดเก็บตามเนื้อหาวารสาร หรือจัดเก็บตามหมวดหมู่ แต่ห้องสมุดที่มีวารสารไม่มากนัก มักจัดเก็บตามลำดับอักษรชื่อของวารสาร ส่วนฉบับล่วงเวลา(เก่า) ห้องสมุดมักเก็บบนชั้นปิด หากมีผู้ต้องการใช้ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ส่วนวารสารเย็บเล่มจะเรียงไว้ตามอักษรชื่อวารสาร และทำดรรชนีช่วยค้น

การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาล
การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาล แต่ละห้องสมุดจะมีการจัดเก็บแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะจัดเรียงตามอักษรย่อของหน่วยงานนั้นๆ และมีตัวเลขกำกับ เพื่อบอกลักษณะของหน่วยงาน และรูปแบบเนื้อหา เช่น



การจัดหมู่โสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ห้องสมุดแต่ละแห่งมีการจัดหมู่สื่อโสตทัศน์แตกต่างกันไป บางแห่งใช้ระบบเลขทะเบียนกับสัญลักษณ์ตามประเภทของสื่อ หรือใช้ระบบการจัดหมู่เหมือนหนังสือ โดยใช้สัญลักษณ์แทนประเภทของสื่อ หรือบางห้องสมุดอาจกำหนดระบบ หรือสัญลักษณ์ของสื่อขึ้นเอง เช่น วีดิทัศน์ เรื่อง เรียนลัด Microsoft 97 มีสัญลักษณ์ได้ 2 แบบ คือ



ตัวอย่างสัญลักษณ์ของสื่อโสตทัศน์
ประเภท สัญลักษณ์
ภาพยนตร์ MP
สไลด์ SL
เทปตลับ AC
เทปม้วน AT
แผ่นเสียง PD
แผนที่ MA
วีดิทัศน์ , เทปบันทึกภาพ VC
รูปภาพ PI
แผ่นโปร่งใส TR
เกม GM
ชุดการสอน KT
ซีดี CD
ซีดี-รอมมัลติมีเดีย CDM
เลเซอร์วีดิโอดิสก์ VD